ควบคุมงบประมาณเริ่มได้ตั้งแต่งานคำนวณ

  งานคำนวณโครงสร้างเป็นงานลำดับต่อจากงานแบบสถาปัตย์ ขั้นตอนคือวิเคราะห์และคำนวณเพื่อให้ได้รายละเอียดหน้าตัดสำหรับจะนำไปก่อสร้างโดยนำรายละเอียดนั้นมาเขียนเป็นแบบเพื่อใช้ขออนุญาตกับทางราชการและนำไปก่อสร้างต่อไป เมื่อแบบที่แล้วเสร็จมาถึงมือเจ้าของหรือผู้รับเหมาแล้วก็เป็นหน้าที่เพียงว่าต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จไปตามแบบนั้นๆ แต่ก็จะมีข้อสังเกตได้บ้างว่าแบบโครงสร้างนั้นมีความประหยัดและคุ้มค่าหรือไม่เพราะหน้าที่โครงสร้างนั้นไม่ได้มีเพียงแค่ความแข็งแรงปลอดภัยเท่านั้นต้นทุนที่เหมาะสม และวิธีการก่อสร้างที่สะดวกก็เป็นอีกหนึ่งความต้องการที่ควรจะมีควบคู่กันไปด้วยโดยข้อสังเกตเบื้องต้นสามารถพิจารณาได้เองดังนี้

 

 

 

ฐานรากทำหน้าที่รับน.น.อาคารถ่ายลงสู่พื้นดิน ลักษณะของพื้นที่จะเป็นตัวแปรในการเลือกใช้ชนิดฐานรากโดยหลักการคือพิจารณาดูว่าฐานรากนั้นๆเหมาะสมกับพื้นที่ก่อสร้างหรือไม่ตามข้อมูลนี้

 


 

 

1.1ฐานรากแบบเทบนดินหรือฐานรากแผ่

 

 

ฐานรากชนิดนี้นับว่าต้นทุนก่อสร้างถูกที่สุด ด้วยราคาที่อาจต่างได้ถึงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับฐานรากแบบเสาเข็มตอกทั่วไปทั้งขั้นตอนและระยะเวลาการทำงานก็สั้นกว่าเกินเท่าตัว แต่เงื่อนไขที่จะสามารถเลือกใช้ฐานรากชนิดนี้ได้ก็คือสถานที่ก่อสร้างนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นดินแน่นแข็ง  โดยหลักการแล้วก็คือพื้นดินนั้นๆต้องรับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 10 ตันต่อตารางเมตร

 


 

 

 

1.2ฐานรากวางบนเสาเข็มยาว 

 

หากพื้นดินมีความอ่อนตัวมาเกินกว่าจะใช้ฐานรากแบบวางบนดินได้ ตัวเลือกถัดมาคือการตอก

เสาเข็มเพื่อถ่ายน้ำหนักลงในชั้นดินที่ลึกลงไปจากชั้นหน้าดิน  ความลึกการตอกจะแปรผันไปตามภูมิภาคของแต่ละท้องที่และต้นทุนก็จะแปรผันไปตามความลึกการตอกนี้แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะใช้ต้นทุนและระยะเวลามากกว่าฐานรากแบบเทบนดินแต่ยังน้อยกว่าแบบเสาเข็มเจาะ

 


 

 

1.3ฐานรากวางบนเสาเข็มเจาะ

 

 

หากสภาพแวดล้อมของพื้นที่ก่อสร้างไม่เอื้ออำนวยกับฐานรากในหัวข้อที่ผ่านมาแล้ว กล่าวคือดินอ่อนจนไม่สามารถใช้ฐารากวางบนดินได้ มีอาคารข้างเคียงที่อาจจะเสียหายจากแรงสะเทือนจากการตอก หรือ ความสถานที่คับแคบจนไม่สามารถนำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้าได้  เสาเข็มเจาะดูเหมือนจะเป็นทางเลือกท้ายๆให้พิจารณาใช้  เสาเข็มเจาะมีขนาดและประเภทให้เลือกใช้หลายประเภทแต่ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะที่นิยมใช้กับบ้านหรืออาคารขนาดไม่ใหญ่มากเป็นเกณฑ์ เสาเข็มเจาะที่นิยมใช้ทั่วไปคือแบบทุ้งกระแทก หลักการคือขุดเจาะดินออกด้วยการทุ้งกระแทกด้วยปลอกแล้วแทนที่ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กโดยระดับความลึกต้องนั่งอยู่ที่ชั้นดินดานหรือชั้นทราย ในแง่ต้นทุนดูจะสูงที่สุดในจำนวนทั้ง3ชนิด ประกอบกับขั้นตอนกานทำงานก็ใช้เวลาที่มากกว่าด้วยแต่ข้อดีคือแรงสะเทือนจากการตอกเจาะน้อยกว่าแบบตอก

 

สรุป

 

สภาพแวดล้อมของพื้นที่เป็นตัวกำหนดประเภทฐานราก แต่ถ้าหากการกำหนดเลือกไม่เหมาะสมอาจจะเป็นการเพิ่มภาระทางต้นทุนได้ ตัวอย่างเช่นบริเวณที่ชั้นดินแข็งพอจะทำฐานรากวางบนดินได้แต่การคำนวณออกแบบมาเป็นเสาเข็มตอก ผลคือสูญเสียต้นทุนเปล่าประโยชน์ไปเกือบเท่าตัวจากฐานรากแบบเทบนดิน ดังนั้นก่อนการก่อสร้างจริงการตรวจสอบจึงจำเป็นอย่างยิ่ง  

 


 

2.1คานต่อเนื่อง-คานเดี่ยว

 

รูปแบบการคำนวณคานมีด้วยกันหลายวิธีหลายลักษณะ  ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างแบบการคำนวณที่อาจมีผลต่อการเพิ่มต้นทุน  วิธีการหนึ่งที่มักพบบ่อยคือคำแบบคานเดี่ยวแต่นำไปใช้กับคานกับคานต่อเนื่อง(ตั้งแต่2ช่วงขึ้นไป)เพราะการคำนวณแบบคานเดี่ยวเป็นวิธีที่ง่ายและใช้เวลาน้อยแต่พฤติกรรมโครงสร้างไม่ตรงตามจริงและมีผลกับการสิ้นเปลืองวัสดุอีกด้วยกรณีคานหลายช่วงต้องคำนวณแบบคานต่อเนื่องจะได้หน้าตัดที่ประหยัดและพฤติกรรมการรับแรงที่ถูกต้องกรณีคานหลายช่วงแต่คำนวณแบบคานเดี่ยวเวลาทำงานจริงจะนำหน้าตัดมาเรียงต่อๆ

กันเสมือนว่าคำนวณเป็นคานต่อเนื่องนอกจากพฤติกรรมการรับแรงที่ไม่ถูกต้องแล้วยังอาจทำงานได้ยากอีกด้วย เช่นการนำคานคนละขนาดมาเรียงต่อกัน ระดับท้องคานไม่เท่ากัน

ความกว้างไม่เท่ากันส่งผลให้ทำแบบหล่อต้องทำหลายระดับหลายขนาดเพิ่มขั้นตอนการทำงาน

และหากเหล็กคนละขนาดยังต้องมีงอปลายหลายจุด หาจุดต่อจุดทาบได้ยากอีกด้วย     

 

 


 

2.2รวบคำนวณเฉพาะตัวหนักสุด

 

อีกวิธีหนึ่งที่ลัดขั้นตอนการทำงานคำนวณคือรวบจำนวนให้น้อยลงโดยแบ่งเป็นกลุ่มๆแล้วเลือก

เฉพาะตัวที่รับหนักสุดมาคำนวณ ส่วนคานตัวที่เหลือแม้จะรับแรงน้อยกว่าแต่ก็ให้มีหน้าตัดเดียวกัน วิธีนี้ช่วยลัดสั้นการคำนวณได้เยอะพอสมควร แต่ผลเสียคือคานตัวอื่นๆที่ไม่ได้รับการคำนวณจะมีหน้าตัดใหญ่เกินว่าต้องการ  ส่งผลให้สิ้นเปลืองวัสดุเช่นกัน

 

 

2.3แสดงรูปตัดแบบ Typical

 

 

คือการทำแบบมาตรฐานให้ดูเป็นตัวอย่างเพียงหนึ่งตัวอย่างแล้วที่เหลือให้จำลองหน้าตัดเอง วิธีนี้อาจจะไม่ส่งผลกับงบประมาณโดยตรง แต่จะมีผลกับรูปแบบการทำงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชำนาญของช่างหน้างาน แต่ถ้างานมีความซับซ้อนมากหรือช่างไม่มีความชำนาญอ่านแบบมากพอก็อาจเสียหายจากความผิดพลาด แน่นอนว่าต้องส่งผลต่อต้นทุนเช่นกัน ดังนั้นหากแบบที่จะทำการก่อสร้างมีรูปแบบ Typicalนี้  ในหน่วยงานที่มีความรัดกุมจึงจำเป็นต้องป้องกันความผิดพลาดโดยให้มีการทำแบบที่รายละเอียดให้ครบถ้วน หรือที่เรียกว่าการทำ Shop Drawing ซึ่งเป็นการเพิ่มขั้นตอนการทำงานและต้นทุนเช่นกัน

 


 

โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือแบบหล่อในที่กับพื้นสำเร็จรูปโดยทั้งสองแบบมีการใช้งานต่างกันแบบหล่อในที่มีคุณสมบัติที่ดีประการหนึ่งคือป้องกันซึมผ่านของน้ำได้ดีจึงนิยมใช้กับส่วนห้องน้ำ ระเบียง และพื้นหลังคา  พื้นสำเร็จรูปเป็นการนำแผ่นสำเร็จวางเหนือช่องว่างแล้วเททับด้วยคอนกรีตนิยมใช้กับพื้นทั่วไปที่ไม่ต้องสัมผัสน้ำ เช่นโถง ห้องนอน ห้องครัวหรือพื้นห้องทั่วๆไป  ข้อดีของพื้นชนิดนี้คือประหยัดเวลาและต้นทุนกว่าพื้นเทกับที่  เมื่อทราบคุณสมบัติของทั้งสองชนิดแล้วพิจารณาว่าแต่ละห้องมีการเลือกชนิดได้เหมาะสมหรือไม่ เพราะมองในแง่ต้นทุนแล้วพื้นแบบเทกับที่ใช้งบประมาณและเวลาที่มากกว่าแบบพื้นสำเร็จรูป  หากมีการเลือกใช้ให้เหมาะสมก็ช่วยให้ต้นทุนเหมาะสมด้วยเช่นกัน

 


 

 

 

3.1พื้นสำเร็จรูป

 

พื้นสำเร็จรูปเหมาะกับพื้นที่ทั่วไปที่ไม่ต้องสัมผัสน้ำมีข้อดีคือประหยัดเวลาและต้นทุนกว่าพื้นเทกับที่

 

 


 

 

3.2พื้นเทกับที่

 

 

พื้นแบบหล่อในที่มีคุณสมบัติที่ดีประการหนึ่งคือป้องกันซึมผ่านของน้ำได้ดีจึงนิยมใช้กับส่วนห้องน้ำระเบียง และพื้นหลังคาแต่มีขั้นตอนและต้นทุนมากกว่าแบบพื้นสำเร็จรูป

 


 

ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องเริ่มต้นตั้งแต่เริ่มทำแบบ  โดยมีสองวิธีคำนวณให้เลือกใช้โดยถ้าเงื่อน

ไขเรื่องวัสดุอำนวยแล้ว วิธี Strength design method (Ultimate Strength Design)

มักจะให้ค่าวัสดุที่ประหยัดกว่า Working Stress Design อ่านบทความเปรียบเทียบเพิ่มเติมได้

ที่เปรียบเทียบ2วิธีคำนวณ

 

 


 

บัญชีแสดงปริมาณงานและราคาที่จะใช้ในการก่อสร้างหรือ BOQ นับเป็นหัวใจสำคัญ

ในการตกลงราคาไม่ว่าจะเป็นระหว่างผู้ว่าจ้าง-รับจ้างหรือธุระกรรมกับสถาบันทางการเงิน

แต่  BOQจะเที่ยงตรงใกล้เคียงความเป็นจริงมากแค่ไหนก็มีหลายปัจจัยมาประกอบกัน

หนึ่งในนั้นคือปริมาณงานและวัสดุที่นำมาแสดง  ขั้นตอนการหาปริมาณวัสดุนี้มีหลายรูปแบบการ

คำนวณ ปริมาณวัสดุที่ได้จากการวางแผนการทำงานจริงดูเหมือนว่าจะได้ปริมาณที่ใกล้เคียงการ

ทำงานจริงที่สุด ส่วนการประมาณการนั้นบางทีขึ้นอยู่บประสบการณ์การทำงานซึ่งแต่ละท่านอาจ

 

ไม่เหมือนกัน   ปริมาณงานและวัสดุที่ได้จากการวางแผนงานนั้นมีที่มาที่ไปตลอดจนการเผื่อเสียหายชัดเจนจึงน่าเชื่อถือมากกว่า

 

 

 

 

 

 

 

Visitors: 55,515