เปรียบเทียบวิธีคำนวณบ้าน

วิธีคำนวณที่นิยมใช้กัน2วิธีคือ

  1. Working Stress Design

    2.Strength design method (Ultimate Strength Design)

ข้อแตกต่างระหว่าง2วิธีมีคร่าวๆดังนี้



 


     

  ตารางเปรียบเทียบการใช้วัสดุ โดย วิธี Srength Design Method : Working Stess Design (โดยแยกตามประเภทโครงสร้าง)
  สถิติการใช้ปริมาณวัสดุโครงสร้าง เสา คาน ฐานราก พื้นเทกับที่  
  SDM WSD % SDM WSD % SDM WSD % SDM WSD %  
  ความยาว/พท.       387.8 387.8   25 25   146.03 146.03    
  น้ำหนักเหล็กMain(DB) kg 1011.3 1550.76 53.34 % 2533.32 3179.28 25.5 % 210.12 210.12 0 % 0 0    
  น้ำหนักเหล็กปลอก(RB) kg 199.8 230.88 15.56 % 515.04 589.32 14.42 % 19.96 19.96 0 % 1275 1474.36 15.64 %  
  ปริมาตรคอนกรีต cu.m. 6.29 6.49 3.18 % 31 31.33 1.06 % 2.01 2.01 0 % 17.38 17.65 1.55 %  
  พื้นที่แบบหล่อ sq.m. 125.86 125.9 0.03 % 395.84 398.03 0.55 % 18.28 18.28 0 % 146.03 146.03 0 %  
  เฉลี่ยน้ำหนักเหล็กMain(DB) kg/m 6.43 10.1   6.53 8.2   8.4 8.4   0 0    
  เฉลี่ยน้ำหนักเหล็กปลอก(RB) kg/m 1.27 1.5   1.33 1.52   0.8 0.8   8.73 10.1    
  เฉลี่ยน้ำหนักลวดเหล็ก kg/m 0.15 0.17   0.12 1.12   0.23 0.23   0.1 0.12    
  เฉลี่ยปริมาตคอนกรีต cu.m./m. 0.04 0.04   0.08 0.08   0.08 0.08   0.12 0.12    
  เฉลี่ยพื้นที่แบบหล่อ sq.m./m. 0.8 0.82   1.02 1.03   0.73 0.73   1 1    
    SDM : Strength Design  Method
                 
    WSD : Working Stress Design                  

    เมื่อพิจารณาคุณสมบัติวัสดุแล้วขั้นตอนสุดท้ายคือ พิจารณาเลือกวิธีคำนวณ โดยทั้งสองวิธีได้ผ่านการใช้จริงด้วยกาลเวลามาแล้วนับหลายสิบปีจึงไม่เป็นที่กังขาเรื่องความมั่นคงแข็งแรง ปัจจัยที่เหลือที่นำมาพิจารณาคงเป็นเรื่องต้นทุนวัสดุและความสะดวกในการนำมาใช้ กรณีอนาคตหากมีการปรับเปลี่ยนหรือต่อเติมและหากผู้คำนวณไม่ใช่คนเดิมวิธี Working stress design ดูเหมือนจะมีผู้ใช้มากกว่าจึงน่าจะหาผู้จัดทำรายการคำนวณใหม่ได้สะดวกว่าในการมาต่องาน เรื่องต้นทุนน่าจะเป็นข้อสำคัญสุดรองลงมาจากความมั่นคงแข็งแรง จากตารางเปรียบเทียบเป็นงานคำนวณโครงสร้างบ้านพักอาศัยค.ส.ล.2ชั้นพื้นที่ใช้สอย 414 ตร.ม.Spanคานส่วนใหญ่จะประมาณ4ม.แต่เฉพาะบริเวณจอดรถซึ่งถูกออกแบบให้จอดได้2คันด้วยSpan6ม.x6ม.ทำให้โซนดังกล่าวมีหน้าตัดโครงสร้างต่างออกไปจากโซนอื่นบ้าง งานนี้ถูกออกแบบด้วยวิธี Strength design  method ค่าความแข็งคอนกรีตเลือกใช้200Kscทรงกระบอก(240kscทรงลูกบาศก์) เหล็กเลือกใช้ค่า Fy4000 ปริมาณวัสดุได้มาจากการทำBarCutListปริมาณตามช่องที่2(SDM)  ส่วนช่องที่1(WSD)คือปริมาณวัสดุที่คำนวณด้วยวิธี Working stress design ซ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเปรียบเทียบ และในช่องที่3จะเป็นเปอร์เซ็นส่วนต่างของทั้งสองวิธี ที่ต่างกันมากที่สุดคือปริมาณเหล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเหล็กที่ทำหน้าที่รับแรงอัดเช่นเสาและคานประเภทDoublyDesign ในส่วนพื้น,ฐานราก และบันไดจะต่างกันเล็กน้อยทั้งนี้อาจเพราะว่าโครงสร้างเหล่านี้มีขนาดเล็กรับแรงไม่มากผลคำนวณจึงผ่านด้วยจำนวนเหล็กขั้นต่ำภาคบังคับความแตกต่างจึงไม่มาก แต่อย่างไรก็ดีในภาพรวมแล้วเมื่อนำวัสดุทุกตัวมารวมกันแล้วเทียบแบบทั้งหลังก็จะเห็นถึงความต่างแบบมีนัยสำคัญของราคาต้นทุนพอสมควร

เปรียบเทียบการใช้วัสดุโดยรวมทั้งหลัง     SDM      WSD       %
  น้ำหนักเหล็กMain(DB) kg 3754.74 4940.16     31.57 %
  น้ำหนักเหล็กปลอก(RB) kg 2009.8 2314.52     15.16 %
  ปริมาตรคอนกรีต cu.m. 56.68 57.48      1.41 %
  พื้นที่แบบหล่อ sq.m.   686.01 688.24       0.33 %



Visitors: 55,458