งานBar-Cut List

 

การทำBar-Cut list คือ การวางแผนการใช้วัสดุประกอบร่วมกับเทคนิคการก่อสร้างและข้อกำหนดทางวิศวกรรมเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้วัสดุ อีกทั้งยังรวมถึงการรวบรวมปริมาณวัสดุเพื่อการประมาณราคาและสั่งใช้งานในงาน  ป้องกันปัญหาประมาณราคาผิดพลาด ลดปัญหาขาดทุนของผู้ประกอบการ หรือจ่ายค่าก่อสร้างเกินความเป็นจริงของเจ้าของงาน  อีกทั้งช่วยลดความผิดพลาดในการทำงาน เพราะประเด็นที่เราให้สำคัญกับการทำBar-Cut List คือความสอดคล้องกับการทำงานจริง ประโยชน์อีกอย่างของการทำ Bar-Cut List ก็คือใช้ควบคุมการทำงาน  เพราะทุกขั้นตอนการทำงานที่มุ่งประประสงค์ว่าต้องใช้งานก่อสร้างได้จริงเริ่มตั้งแต่ตรวจสอบแบบ=>วางแผนงาน=>เคลียร์แบบหน้าตัด(Shop Drawing)จนถึงRun Program Bar-Cut List จนสุดท้ายได้ข้อมูลการใช้วัสดุแล้ว ข้อมูลส่วนประกอบอื่นๆสามารถนำมาประยุกต์ใช้รวมกันได้เป็นใบสั่งงาน (โปรดดูBar-Cut List ฉบับใช้หน้างาน) ซุึ่งจะกอบด้วยชนิดประเภทวัสดุ ปริมาณการใช้ รูปหน้าตัด ขนาดการหักงอเหล็กเสริม ตำแน่งต่อทาบเหล็กเสริม ตลอดจนเศษเหลือและการจัดสรรตำแหน่งการนำไปใช้ในงานต่อไป  ส่วนปิดท้ายคือการทำงานคือ สถิติการใช้งานวัสดุโดยเมื่อแล้วเสร็จแต่ละชุดงานจะมีการแสดงสถิติเฉลี่ยวัสดุ/หน่วยงานไว้เป็นข้อมูลให้พิจารณาเช่นคาน,เสา/เมตรเฉลี่ยแล้วใช้วัสดุเท่าไหร่เป็นต้น และเมื่อแล้วเสร็จงานทั้งหมดสถิติจะแสดงเป็นการใช้วัสดุโครงสร้างทั้งสิ้นต่อตารางเมตร พร้อมทั้งสรุปราคาโครงสร้างต่อตารางเมตร(กรณีรับบริการBOQ) ไว้ให้ด้วย  สำหรับวิธีการและขั้นตอนการทำ Bar-Cut Listของทางเราขออธิบายเป็นหัวข้อไว้ดังนี้

 

1.ตรวจสอบขนาดและระยะต่างๆ นอกเหนือจากการตรวจสอบแบบก่อสร้างแล้วการทำโมเดล 3D จะเป็นอีกวิธีที่เราเลื่อกใช้เพราะจะช่วยให้เข้าถึงความถูกต้องแม่นยำได้มากยิ่งขึ้น ในบางกรณีที่โครงสร้างมีความซับซ้อนมากๆแบบปรกติอาจจะแสดงรายละเอียดได้ไม่มากพอ โครงสร้าง3Dโมเดลจะช่วยให้ได้เห็นรายละเอียดที่สมบูรณ์กว่า  วิธีการและขั้นตอนจะคล้ายกับการทำ3Dโมเดลเพื่อคำนวณโครงสร้างเพียงแต่ตัดการวิเคราะห์แรงออกไป วิธีการนี้นอกจากได้ระยะและขนาดที่แน่นอนแล้ว ผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่งคือการตรวจสอบความถูกต้องไปพร้อมกัน ความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้กับทุกขั้นตอนตั่งแต่ออกแบบคำนวณจนถึงเขียนเป็นรูปเล่ม หากแบบสมบูรณ์ครบถ้วนก็จะช่วยให้งานก่อสร้างราบรื่นลุล่วงไปด้วยดี แต่หากมีข้อผิดพลาดและได้รับการตรวจพบก่อนสร้างจริงย่อมลดความเสียหายได้มากกว่าพบปัญหาในขณะกำลังก่อสร้าง

Step 2วางแผนจัดลำดับการทำงาน

ปริมาณวัสดุใช้งานมากน้อยเท่าไหร่นั้นสำคัญแต่ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือใช้อย่างไรและเมื่อไหร่  ในงานก่อสร้างนอกจากรูปแบบทางสถาปัตยกรรมจะเป็นตัวกำหนดขั้นตอนทำงานแล้วหลักการรับแรงทางวิศวกรรมก็มีส่วนในการจัดลำดับการทำงานเช่นกัน หลักการที่ว่าด้วยชิ้นส่วนไหนรับแรงสุดท้ายจะต้องก่อสร้างก่อนก็ยังคงใช้ได้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นฐานราก เสาตอม่อ คานหลัก คานรอง เสาฝาก ล้วนแต่ต้องการได้รับการจัดสรรลำดับการทำทั้งสิ้น

Step 3ขยายรายละเอียดหน้าตัดโครงสร้าง(ShopDrawing)

แบบที่สมบูรณ์และครบถ้วนจะช่วยให้งานก่อสร้างดำเนินไปได้อย่างราบลื่น แต่กลับกันถ้าแบบมีความละเอียดไม่เพียงพอก็อาจจะส่งผลให้งานผิดพลาดหรือติดขัดได้เช่นกัน แบบที่มีรายละเอียดเพียงพอให้ทำรูปเล่มหรือขออนุญาตปลูกสร้างอาจจะไม่ได้หมายความว่าแบบนั้นจะเพียงพอกับการก่อสร้าง ตัวอย่างที่พบเห็นบ่อยเช่นหน้าตัดคานแบบย่อ คือมีหน้าตัดแนวสั้นแนวขวางให้อาจจะ4-5หน้าตัดแล้วแสดงแบบตัวอย่างการต่อเนื่องคานให้เป็นตัวอย่าง1ตัวอย่างโดยส่วนที่เหลือให้จินตนาการตัดต่อเอาเองหน้างาน แน่นอนว่าถ้าช่างหน่วยงานไม่มีทักษะหรือความชำนาญเรื่องเคลียร์แบบพอก็มักจะเกิดความผิดพลาดให้เห็นได้เสมอๆ Shop Drawingหรือขยายรายละเอียดหน้าตัดโครงสร้างจึงถูกนำมาใช้เป็นขั้นตอนหนึ่งในการทำงานของเรา รูปประกอบด้านบนก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่มักพบเจอได้บ่อย ลักษณะคือเป็นคานต่อเนื่อง 3 Spanและแสดงหน้าตัดอย่างย่อเป็นหน้าตัดด้านขวาง3เบอร์และความยุ่งยากที่เพิ่มขึ้นอีกคือหนึ่งในนั้นเป็นหน้าตัดที่ลึกกว่าตัวอื่น ในสายหน้างานสายควบคุมคงเข้าใจความยุ่งยากได้ดี คานต่างระดับจะมาพร้อมกับระยะฝังระยะเสริมที่ซับซ้อนมากขึ้นหากไม่มีการเคลียร์แบบก่อนก็อาจจะโอกาสเกิดความผิดพลาดขึ้นได้สำหรับการทำงานของเราในขั้นตอนนี้จะเป็นการ Run Program ที่เราพัฒนาขึ้นใช้เองซึ่งจะช่วยเรื่องความแม่นยำและความรวดเร็วได้ดีกว่าการเขียนมือ อาจจะมีระยะบางอย่างบางตัวแตกต่างออกไปบ้างตามลักษณะของแต่ละผู้ออกแบบแต่จะไม่น้อยกว่าข้อกำหนดทางวิศวกรรมโดยจะได้เป็นหน้าตัดโครงสร้างไฟล์งาน PDF และจะนำไปประกอบใช้กับข้อมูลในขั้นถัดไป

Step 4รวบรวมหน้าตัดShop Drawingเป็นแบบสำหรับใช้งาน

เมื่อแล้วเสร็จงาน Shop Drawing แต่ละหน้าตัดจนครบถ้วนแล้วนอกจากจะนำไปใช้สำหรับทำ Bar-Cut List แล้วเมื่อรวบรวมเป็นแบบอีกชุดก็จะได้แบบที่สมบูรณ์สำหรับใช้ในงานก่อสร้างต่อไป(PDF)

Step 5นำเข้ามูลต่างๆจากขั้นตอนข้างต้นเพื่อ Run Program Bar-Cut List

จะได้งาน Bar-Cut List แบบตารางซึ่งใช้ดูภาพรวมของการทำงานและการใช้วัสดุทั้งหมด(ในส่วนการใช้งานตารางนี้มีอธิบายการใช้งานไว้ด้านล่าง)

Step 6สรุปปริมาณวัสดุ

สรุปปริมาณวัสดุของแต่ละงานจะถูกแบ่งชุดตามชนิดประเภทงานเช่นงานฐานราก,งานตอม่อ,งานคานคอดิน,งานพื้นเทกับที่ เป็นต้น และนอกจากปริมาณวัสดุใช้งานแล้วอีกข้อมูลหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือเศษเหลือของเหล็กเส้น โดยชุดเศษเหลือดังกล่าวจะถูกนำเข้าโปรแกรมBar-Cut อีกครั้งเพื่อจัดสรรใช้งานในชุดงานถัดไปเป็นลำดับ และเมื่อแล้วเสร็จงานโครงสร้างทั้งหมดเศษเหลือสุทธิจะถูกแสดงอีกครั้งเพื่อรอจัดสรรใช้ในโครงการหน้าหรือขายเป็นเศษเหล็กต่อไป


Step 7Bar-Cut List ฉบับใช้หน้างาน

นอกจาก Bar-Cut List แบบตารางแล้วBar-Cut List แบบใช้หน้างานก็จะถูกจัดทำขึ้นอีกหนึ่งชุดโดยมีลักษณะเดียวกันกับใบสั่งงานคือจะประกอบด้วยข้อมูลการใช้วัสดุ ,ลำดับการทำงาน,และหน้าตัดโครงสร้างที่ได้จากการทำ Shop Drawing รวมถึงการจัดสรรใช้เศษเหล็กเหลือ (ในส่วนวิธีการใช้งานจะมีอธิบายการใช้งานไว้ด้านล่าง) Bar-Cut List  ในส่วนนี้จะเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานสำหรับช่างหน้างาน ลดภาระเรื่องการเคลียร์แบบและลดการสูญเสียวัสดุจากความผิดพลาด

Step 8สถิติการใช้วัสดุ

ในการการนำเสนอสถิติการใช้วัสดุนี้นอกจากจะมีค่าเฉลี่ยของแต่ละชุดงานโครงสร้างแล้ว เมื่อแล้วเสร็จงานโครงสร้างทั้งหมดจะมีการสรุปสถิติปริมาณวัสดุรวมทั้งหมดต่อตารางเมตรไว้ให้ด้วย และกรณีรับบริการพร้อมBOQจะมีราคาเฉลี่ยต่อตารางเมตรให้อีกหนึ่งชุด ในการก่อสร้างแต่ละอาคารหรือแต่ละแบบความแตกต่างย่อมมีผลกันต้นทุนให้ต่างกันออกไป สถิติการใช้วัสดุจะเป็นข้อมูลช่วยให้วิเคราะห์ต้นทุนงานครั้งต่อๆไปให้แม่นยำและป้องกันความผิดพลาดในการประมาณราคาได้ดียิ่งขึ้น สำหรับสถาปนิกหรือนักออกแบบข้อมูลสถิติส่วนนี้ก็จะเป็นตัวช่วยในการกำหนดราคาก่อสร้างและพื้นที่ออกแบบให้ตรงตามงบได้เช่นกัน

 
Visitors: 62,499